2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อนWeakness คือ
ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(๑.๑)
ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ
(๑.๒) ขาดการส่งเสริมและช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๑.๓)
ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน
(๑.๔) ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
(๑.๕) ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ
(๑.๖) ประชาชนขาดความรู้ด้านการ
(๑.๗) ขาดเงินทุน
(๑.๘) ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ
•ด้านเศรษฐกิจ
-
พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
-
รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
• ด้านสังคม
(เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
ผู้ด้อยโอกาสการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
-
ประชาชนขาดความสามัคคีในหมู่บ้าน
-
เยาวชนในหมู่บ้านยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด
-
ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแล
-
สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดิน
•
ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
- การจัดการด้านต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า
-
การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ปัญหาการค้าขายบริเวณชายแดน
- ปัญหาขาดงบประมาณที่หลวงจัดให้ในการบริหารจัดการ
-
การขาดความเข้มแข็งในการรักษาความสงบในหมู่บ้าน
• ด้านสาธารณสุข
- ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้
ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่เป็นระบบและปลอดภัย
-
ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
-
ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ
(2) จุดแข็ง Strength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
• ด้านเศรษฐกิจ
- มีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ชุมชน
เพื่อให้ประชาชนสามารถบริโภคสินค้าราคาถูก
- มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ
-
ประชาชนส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเป็นการเสริมรายได้ และประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน
• ด้านสังคม
(เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
- ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
-
มีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย
-
ประชาชนมีความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของหมู่บ้านสามารถดูแลตนเองและครอบครัว
-
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
- สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่ -
-
• ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- สามารถดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านได้เอง
-
สามารถจำกัดพื้นในการดูแลความปลอดภัยได้ในเวลาคับคัน
- มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
ที่เข้มแข็ง
-
สามารถจัดระบบการรักษาดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้านได้เอง
- มีชุดตำรวจตระเวรชายแดนที่ ๔๔๗
อยู่ในพื้นที่
- สามารถสร้างความปลอดภัยหมู่บ้านได้
มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
หรือการออกแรงออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
- ประชาชนให้ความสนใจในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
2.2
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
๑. หมู่บ้านปูโยะ
เป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้เหมาะแก่การเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์ม
ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี
ดังนั้นในการที่จะพัฒนาหมู่บ้านในอนาคตนั้น ควรให้การสนับสนุนการปลูกยางพารา ปาล์ม
คาดว่าน่าจะทำให้หมู่บ้านปูโยะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
๒.
มีเจ้าหน้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
๓. นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ
และเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน (๒) อุปสรรคThreat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ
และเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน
2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน
วิสัยทัศน์(ทิศทางการพัฒนา)
หมู่บ้านเกษตรต้นแบบ
ยกระดับคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน
(CIA)
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน
การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำSWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น